วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ชวนเที่ยวสุพรรณบุรี

จังหวัดสุพรรณบุรี


 

สุพรรณบุรีเป็นเมืองโบราณ พบหลักฐานทางโบราณคดีมีอายุไม่ต่ำกว่า 3,500-3,800 ปี โบราณวัตถุที่ขุดพบมีทั้งยุคหินใหม่ ยุคสำริด ยุคเหล็ก และสืบทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ ฟูนัน อมราวดี ทวารวดี และศรีวิชัย สุพรรณบุรีเดิมมีชื่อว่า ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ หรือ พันธุมบุรี ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าจีน แถบ บริเวณตำบลรั้วใหญ่ไปจดตำบลพิหารแดง ต่อมาพระเจ้ากาแตได้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำ แล้วโปรดให้มอญน้อยไปสร้างวัดสนามชัย และบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ชักชวนให้ข้าราชการจำนวน 2,000 คนบวช จึงขนานนามเมืองใหม่ว่า สองพันบุรี ครั้งถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างเมืองมาทางฝั่งใต้หรือทางตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ชื่อเมืองเรียกว่า อู่ทอง จวบจนสมัยขุนหลวงพะงั่ว เมืองนี้จึงเรียกว่าชื่อว่า สุพรรณบุรี นับแต่นั้นมา
ความสำคัญของสุพรรณบุรีในด้านประวัติศาสตร์การกอบกู้เอกราชไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ ชัยชนะแห่งสงครามยุทธหัตถีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา ณ สมรภูมิดอนเจดีย์ เป็นมหาวีรกรรมคชยุทธอันยิ่งใหญ่ที่ได้ถูกจารึกไว้ และมีการจัดงานเพื่อเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทุกปี เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ ในด้านวรรณคดี เป็นเมืองต้นกำเนิดแห่งตำนาน "ขุนช้างขุนแผน" วรรณคดีไทยเรื่องราวและสถานที่ที่ปรากฏตามท้องเรื่องยังคงมีให้เห็นในปัจจุบัน อาทิ บ้านรั้วใหญ่ วัดเขาใหญ่ ท่าสิบเบี้ย ไร่ฝ้าย วัดป่าเลไลยก์ วัดแค อำเภออู่ทอง และอำเภอศรีประจันต์





คำขวัญจังหวัดสุพรรณบุรี

สุพรรณบุรีเมืองยุทธหัตถี

วรรณคดีขึ้นชื่อ เลื่องลือพระเครื่อง

รุ่งเรืองเกษตรกรรม สูงล้ำประวัติศาสตร์

แหล่งปราชญ์ศิลปิน ภาษาถิ่นชวนฟัง

 จังหวัดสุพรรณบุรี มีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลายแบบ ให้นักเดินทางได้สัมผัสและค้นหา ภาพประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ เรื่องราวของอดีตที่น่าสนใจ สิ่งก่อสร้างทางพุทธศาสนา ที่งดงามและทรงคุณค่าต่อการกราบไหว้บูชา หรือแม้แต่สถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นมาให้นักท่องเที่ยวได้ชม  ได้เพลิดเพลินกับความอลังการ ตื่นตา ตื่นใจ และเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ของเยาวชนคนรุ่นใหม่
   นอกจากที่กล่าวมาแล้ว สุพรรณบุรี ยังเป็นดินแดนที่มีธรรมชาติ ทะเลสาป น้ำตก ป่าเขา ทะเลหมอกที่งดงาม และวิถีชีวิตกว่า 10 ชนเผ่า ที่ดำเนินอยู๋ ณ ดินแดนแห่งนี้

บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ 
 บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ เป็นบึงน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,700 ไร่ อยู่ห่างจากตัวเมืองสุพรรณบุรีประมาณ 64 กิโลเมตรจัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืดและสัตว์น้ำเค็ม ทั้งพันธุ์ปลาไทย และพันธุ์ปลาต่างประเทศกว่า 50 ชนิด เช่น ปลาบึก ปลากระโห้ ปลาม้า ปลากราย ปลาช่อนงูเห่า ปลาเสือตอ เป็นต้น

สามชุก ตลาดร้อยปี
ตลาดสามชุกเป็นแหล่งค้าขายสินค้าทางน้ำที่สำคัญในสมัยโบราณ ตัวอำเภอยังเป็นตลาดเก่าที่สร้างด้วยไม้เรียงติดกัน อยู่ริมฝังตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน วิถีีชีวิตของผู้คนในชุมชน, อาคารพิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงค์จีนารักษ์ ร้านขายยาจีน-ไทยโบราณ ร้านกาแฟโบราณ และร้านถ่ายรูปโบราณ ยังคงมีสภาพและรูปแบบเดิมเหมาะแก่การอนุรักษ์


ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง-มังกรสวรรค์
เป็นพุทธปฎิมากรรมสลักบนแผ่นหินแบบนูนต่ำ (Relief) 
ในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เป็นศิลปแบบขอมเป็นรูปพระวิษณุกรรมสวมหมวกแขก ในศิลปไพรกเม็ง อายุประมาณ 1300-1400 ปีมาแล้ว
พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร เรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านงานศิลปะ จิตกรรม ปฎิมากรรม และสื่อผสม เทคนิคที่ตื่นตาตื่นใจ และล่าสุด หมู่บ้านมังกรสวรรค์ รูปแบบของหมู่บ้านได้จำลอง "เมืองลีเจียง" ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่โบราณอายุนับพันปี  


วัดป่าเลไลยก์ 
 เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่ามีอายุราว 1200 ปี ตั้งอยู่ริมถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง
อยู่ทางฝั่งตะวันตกของลำน้ำสุพรรณ ห่างจากศาลากลางจังหวัด ประมาณ 4 กิโลเมตร 
ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่าวัดป่า ภายในวิหาร เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต ปางป่าเลไลยก์ 
   ในพงศาวดารเหนือกล่าวว่า ...พระเจ้ากาเตทรงให้มอญน้อย มาบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ภายหลังปี พ.ศ. 1724 เล็กน้อย  หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ศิลปะสมัยอู่ทอง สุพรรณภูมิ (คือประทับนั่งห้อยพระบาท)  มีนักปราชญ์หลายท่านว่า เดิมคงเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา สร้างไว้กลางแจ้งอย่างพระพนัญเชิงสมัยแรกต่อมาได้มีการบูรณะ ซ่อมแซมใหม่ และทำเป็นปางป่าเลไลยก์ ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ภายในองค์พระพุทธรูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ 36 องค์ ที่ได้มาจากพระมหาเถรไลยลาย


หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย (บ้านควาย)
ชมการจำลองวิถีชีวิตของชุมชนชาวบ้านในแถบชนบท 
ประกอบด้วย กระท่อมหลังคามุงจาก ฝาขัดแตะหลังเล็กสำหรับครอบครัวเริ่มต้น เรือนไทย ยุ้งข้าว เรือนโหราจารย์ 
ชมการแสดงความสามารถของควายไทย
การแข่งขันวิ่งควาย ดูความน่ารักของควายยิ้ม

วัดทับกระดาน
หลายท่านคงรู้จัก พุ่มพวง ดวงจันทร์ ราชินีเพลงลูกทุ่ง ที่ฝากผลงานเพลงที่ไพเราะ และอยู่ในหัวใจของใครต่อใครมากมาย มาวันนี้ถึงแม้ พุ่มพวง จะจากแฟนเพลงไปแล้วหลายปี แต่เรื่องราว และความทรงจำก็มิได้จากไปตามร่างกายของพุ่มพวง สิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องยังถูกเก็บรักษาไว้ ณ วัดทับกระดาน แห่งนี้

หอคอยบรรหาร-แจ่มใส 
และ สวนเฉลิมภัทรราชินี 

ตั้งอยู่ใจกลางเมืองสุพรรณบุรี บนถนนนางพิม หอคอยบรรหาร-แจ่มใส เป็นหอคอยแห่งแรกและสูงที่สุดในประเทศไทย 
โปรแกรมการเดินทางมาท่องเที่ยวเมืองสุพรรณ จะจบลงด้วยความประทับใจ กับความงดงามยามค่ำคืน ด้วยแสงไฟและเสียงเพลง ในช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์จะลาลับขอบฟ้า



สถานที่ท่องเที่ยว ในจังหวัดสุพรรณบุรียังมีอีกมากมายไม่ใช่แค่นี้ สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดสุพรรณยังรอให้นักเที่ยวไปเยี่ยมชมกันอยู่อีกหลายที่น๊ครับ อย่าลืมไปท่องเที่ยวกันน๊ครับผม




อ้างอิง suphan


เทศกาลเทศน์มหาชาติ

เทศกาลเทศน์มหาชาติ
เทศน์มหาชาติ 
                การเทศน์มหาชาติ เป็นประเพณีของไทยมาแต่โบราณกาล คือ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ การเทศน์มหาชาติมีการจัดเป็นประจำทุกปี ในระหว่างเดือน 11 เดือน 12 หรือเดือน 1 (เดือนอ้าย) ในปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่เหมาะสม บางแห่ง นิยมทำกันหลังออกพรรษาพ้นหน้ากฐินไปแล้ว อาจทำในวันขี้น 8 ค่ำกลางเดือน 12  หรือในวันแรม 8 ค่ำก็ได้ ซึ่งในช่วงนี้น้ำเริ่มลดและข้าวปลาอาหารกำลังอุดมสมบูรณ์ จึงพร้อมใจกันทำบุญทำทานและเล่นสนุกสนานรื่นเริง แต่ในภาคอีสานนั้นนิยมทำกันในเดือน 4 เรียกว่า "งานบุญผะเหวด" ซึ่งเป็นช่วงที่เสร็จจากการทำบุญลานเอาข้าวเข้ายุ้ง ในภาคกลาง บางท้องถิ่นทำกันในเดือน 5 ต่อเดือน 6 ก็มี งานเทศน์มหาชาตินั้นจะทำในกาลพิเศษจะทำในเดือนไหนก็ได้ไม่จำกัดฤดูกาล  บางแห่งนิยมทำในเดือน 10  
    มหาชาติเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเวสสันดรอันเป็นพระชาติสุดท้ายของพระบรมโพธิสัตว์ ก่อนที่จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะและออกบวชจนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งการเทศน์มหาชาตินั้น ประกอบด้วยพระคาถาภาษาบาลี จำนวน 1,000 พระคาถา ลักษณะการเทศน์เรียกว่า เทศน์คาถาพัน หรือเทศน์มหาชาติ มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์ ได้มีการแต่งเป็นร่ายยาวด้วยท่วงทำนองอันเพราะพริ้ง และการเทศน์แต่ละกัณฑ์ ก็จะมีท่วงทำนองที่แตกต่างกันออกไป        

 การเทศน์มหาชาติมีอิทธิพลต่อสังคมไทย ในด้านความเชื่อ คือ เชื่อว่าผู้ใดได้ฟังเทศน์มหาชาติครบ ๑๓ กัณฑ์ จบภายในวันเดียว ผู้นั้นก็จะได้รับอานิสงส์ ๕ ประการ คือ
                1. จะได้เกิดในศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรยซึ่งจะมาอุบัติเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต
                2. จะได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เสวยทิพยสมบัติอันโอฬาร
                3. จะไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต
                4. จะเป็นผู้มีลาภ ยศ ไมตรี และความสุข
                5. จะได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา

            การเทศมหาชาตินิยมเทศน์ด้วยกันทั้งหมด13 กัณฑ์ แต่ละกัณฑ์ก็จะมีความแตกต่างกันออกไปจะกล่าวต้องแต่กำเนิดเรื่องราวจนถึงเรื่องราวตอนจบ มีดังนี้
กัณฑ์ที่ 1 ทศพร

  เป็นกัณฑ์ที่พระอินทร์ประสาทพรแก่พระนางผุสดี ก่อนที่จะจุติลงมาเป็นพระราชมารดาของพระเวสสันดร ภาคสวรรค์ พระนางผุสดีเทพอัปสรสิ้นบุญท้าวสักกะเทวราช สวามีทรงทราบจึงพาไปประทับยังสวนนันทวันในเทวโลก พร้อมให้พร 10 ประการ คือให้ได้อยู่ในปราสาทของพระเจ้าสิริราชแห่งนครสีพี ขอให้มีจักษุดำดุจนัยน์ตาลูกเนื้อ ขอให้มีคิ้วดำสนิท ขอให้พระนามว่าผุสดี ขอให้มีโอรสที่ทรงเกียรติยศเหนือกษัตริย์ทังหลายและมีใจบุญ ขอให้มีครรภ์ที่ผิดไปจากสตรีสามัญคือแบนราบในเวลาทรงครรภ์ ขอให้มีถันงามอย่ารู้ดำและหย่อนยาน ขอให้มีเกศาดำสนิท ขอให้มีผิวงาม และข้อสุดท้ายขอให้มีอำนาจปลดปล่อยนักโทษได้

กัณฑ์ที่ 2 หิมพานต์ 
เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรบริจาคทานช้างปัจจัยนาค ประชาชนสีพีโกรธแค้นจึงขับไล่ให้ไปอยู่เขาวงกต พระนางเทพผุสดีได้จุติลงมาเป็นราชธิดาของพระเจ้ามัททราช เมื่อเจริญชนม์ได้ 16 ชันษา จึงได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้ากรุงสญชัยแห่งสีวิรัฐนคร ต่อมาได้ประสูติพระโอรสนามว่า "เวสสันดร" ในวันที่ประสูตินั้นได้มีนางช้างฉัททันต์ตกลูกเป็นช้างเผือกขาวบริสุทธิ์จึงนำมาไว้ในโรงช้างต้นคู่บารมี ให้นามว่า "ปัจจัยนาค" เมื่อพระเวสสันดรเจริญชนม์ 16 พรรษา ราชบิดาก็ยกราชสมบัติให้ครอบครองและทรงอภิเษกกับนางมัทรี พระราชบิดาราชวงศ์มัททราช มีพระโอรส 1 องค์ชื่อ ชาลี ราชธิดาชื่อ กัณหา พระองค์ได้สร้างโรงทาน บริจาคทานแก่ผู้เข็ญใจ ต่อมาพระเจ้ากาลิงคะแห่งนครกาลิงครัฐได้ส่งพราหมณ์มาขอพระราชทานช้างปัจจัยนาค พระองค์จึงพระราชทานช้างปัจจัยนาคแก่พระเจ้ากาลิงคะ ชาวกรุงสัญชัย จึงเนรเทศพระเวสสันดรออกนอกพระนคร

กัณฑ์ที่ 3 ทานกัณฑ์ 

เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงแจกมหาสัตสดกทาน คือ การแจกทานครั้งยิ่งใหญ่ ก่อนที่พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี ชาลีและกัณหาออกจากพระนคร จึงทูลขอพระราชทานโอกาสบำเพ็ญมหาสัตสดกทาน คือ การให้ทานครั้งยิ่งใหญ่ อันได้แก่ ช้าง ม้า โคนม นารี ทาสี ทาสา สรรพวัตถาภรณ์ต่างๆ รวมทั้งสุราบานอย่างละ 700

กัณฑ์ที่ 4 วนประเวศ

  เป็นกัณฑ์ที่สี่กษัตริย์เดินดงบ่ายพระพักตร์สู่เขาวงกต เมื่อเดินทางถึงนครเจตราชทั้งสี่กษัตริย์จึงแวะเข้าประทับพักหน้าศาลาพระนคร กษัตริย์ผู้ครองนครเจตราชจึงทูลเสด็จครองเมือง แต่พระเวสสันดรทรงปฎิเสธ และเมื่อเสด็จถึงเขาวงกตได้พบศาลาอาศรมซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชาของท้าวสักกะเทวราช กษัตริย์ทั้งสี่จึงทรงผนวชเป็นฤๅษีพำนักในอาศรมสืบมา

กัณฑ์ที่ 5 ชูชก
 เป็นกัณฑ์ที่ชูชกได้นางอมิตดามาเป็นภรรยา และหมายจะได้โอรสและธิดาพระเวสสันดรมาเป็นทาส ในแคว้นกาลิงคะมีพราหมณ์แก่ชื่อชูชก พำนักในบ้านทุนวิฐะ เที่ยวขอทานตามเมืองต่างๆ เมื่อได้เงินถึง 100 กหาปณะ จึงนำไปฝากไว้กับพราหมณ์ผัวเมีย แต่ได้นำเงินไปใช้เป็นการส่วนตัว เมื่อชูชกมาทวงเงินคืนจึงยกนางอมิตดาลูกสาวให้แก่ชูชก นางอมิตดาเมื่อมาอยู่ร่วมกับชูชก ได้ทำหน้าที่ของภรรยาที่ดี ทำให้ชายในหมู่บ้านเปรียบเทียบกับภรรยาตน หญิงในหมู่บ้านจึงเกลียดชังและรุมทำร้ายทุบตี นางอมิตดา ชูชกจึงเดินทางไปทูลขอกัณหาชาลีเพื่อเป็นทาสรับใช้ เมื่อเดินทางมาถึงเขาวงกตก็ถูกขัดขวางจากพรามเจตบุตรผู้รักษาประตูป่า

กัณฑ์ที่ 6 จุลพน
 เป็นกัณฑ์ที่พรานเจตบุตรหลงกลชูชก และชี้ทางสู่อาศรมจุตดาบส ชูชกได้ชูกลักพริกขิงแก่พรานเจตบุตรอ้างว่าเป็นพระราชสาสน์ของพระเจ้ากรุงสญชัย จึงได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมฤๅษี

กัณฑ์ที่ 7มหาพน
 เป็นกัณฑ์ป่าใหญ่ ชูชกหลอกล่ออจุตฤๅษีให้บอกทางสู่อาศรมพระเวสสันดรแล้วก็รอนแรมเดินไพรไปหา เมื่อถึงอาศรมฤๅษี ชูชกได้พบกับอจุตฤๅษี ชูชกใช้คารมหลอกล่อจนอจุตฤๅษีจึงให้ที่พักหนึ่งคืนและบอกเส้นทางไปยังอาศรมพระเวสสันดร

กัณฑ์ที่ 8 กัณฑ์กุมาร
 เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงให้ทานสองโอรสแก่เฒ่าชูชก พระนางมัทรีฝันร้ายเหมือนบอกเหตุแห่งการพลัดพราก รุ่งเช้าเมื่อนางมัทรีเข้าป่าหาอาหารแล้ว ชูชกจึงเข้าเฝ้าทูลขอสองกุมาร สองกุมารจึงพากันลงไปซ่อนตัวอยู่ที่สระ พระเวสสันดรจึงลงเสด็จติดตามสองกุมาร แล้วจึงมอบให้แก่ชูชก

กัณฑ์ที่ 9 กัณฑ์มัทรี
 เป็นกัณฑ์ที่พระนางมัทรีทรงได้ตัดความห่วงหาอาลัยในสายเลือด อนุโมทนาทานโอรสทั้งสองแก่ชูชก พระนางมัทรีเดินเข้าไปหาผลไม้ในป่าลึก จนคล้อยเย็นจึงเดินทางกลับอาศรม แต่มีเทวดาแปลงกายเป็นเสือนอนขวางทาง จนค่ำเมื่อกลับถึงอาศรมไม่พบโอรส พระเวสสันดรได้กล่าวว่านางนอกใจ จึงออกเที่ยวหาโอรสและกลับมาสิ้นสติต่อเบื้องพระพักตร์ พระองค์ทรงตกพระทัยลืมตนว่าเป็นดาบสจึงทรงเข้าอุ้มพระนางมัทรีและทรงกันแสง เมื่อพระนางมัทรีฟื้นจึงถวายบังคมประทานโทษ พระเวสสันดรจึงบอกความจริงว่าได้ประทานโอรสแก่ชูชกแล้ว หากชีวิตไม่สิ้นคงจะได้พบ นางจึงได้ทรงอนุโมทนา

กัณฑ์ที่ 10 สักกบรรพ
เป็นกัณฑ์ที่พระอินทร์จำแลงกายเป็นพราหมณ์มาขอพระนางมัทรี แล้วถวายคืนพร้อมถวายพระพร 8  ประการ
ท้าวสักกะเทวราชเสด็จแปลงเป็นพราหมณ์เพื่อทูลขอนางมัทรี พระเวสสันดรจึงพระราชทานให้ พระนางมัทรีก็ยินดีอนุโมทนาเพื่อร่วมทานบารมีให้สำเร็จพระสัมโพธิญาณ เป็นเหตุให้เกิดแผ่นดินไหวสะท้าน ท้าวสักกะเทวราชในร่างพราหมณ์จึงฝากนางมัทรีไว้ยังไม่รับไป ตรัสบอกความจริงและถวายคืนพร้อมถวายพระพร 8 ประการ

กัณฑ์ที่ 11 มหาราช
เป็นกัณฑ์ที่เทพเจ้าจำแลงองค์ทำนุบำรุงขวัญสองกุมารก่อนเสด็จนิวัติถึง
มหานครสีพี เมื่อเดินทางผ่านป่าใหญ่ชูชกจะผูกสองกุมารไว้ที่โคนต้นไม้
 ส่วนตนเองปีนขึ้นไปนอนต้นไม้ เหล่าเทพเทวดาจึงแปลงร่างลงมาปกป้องสองกุมาร จนเดินทางถึงกรุงสีพี พระเจ้ากรุงสีพีเกิดนิมิตฝันตามคำทำนายยังความปีติปราโมทย์ เมื่อเสด็จลงหน้าลานหลวงตอนรุ่งเช้าทอดพระเนตรเห็นชูชกพากุมารน้อยสององค์ ทรงทราบความจริงจึงพระราชทานค่าไถ่คืน ต่อมาชูชกก็ดับชีพตักษัยด้วยเพราะเดโชธาตุไม่ย่อย ชาลีจึงได้ทูลขอให้ไปรับพระบิดาพระมารดานิวัติพระนคร ในขณะเดียวกันเจ้านครลิงคะได้โปรดคืนช้างปัจจัยนาคแก่นครสีพี

กัณฑ์ที่ 12 ฉกษัตริย์ 
เป็นกัณฑ์ที่ทั้งหกกษัตริย์ถึงวิสัญญีภาพสลบลงเมื่อได้พบหน้า ณ อาศรมดาบสที่เขาวงกต
พระเจ้ากรุงสญชัยใช้เวลา 1 เดือน กับ 23  วันจึงเดินทางถึงเขาวงกต เสียงโห่ร้องของทหารทั้ง ๔ เหล่า พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมารบนครสีพี จึงชวนพระนางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขา พระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดาจึงได้ตรัสทูลพระเวสสันดรและเมื่อหกกษัตริย์ได้พบหน้ากันทรงกันแสงสุดประมาณ รวมทั้งทหารเหล่าทัพ ทำให้ป่าใหญ่สนั่นครั่นครืนท้าวสักกะเทวราชจึงได้ทรงบันดาลให้ฝนตกประพรมหกกษัตริย์และทวยหาญได้หายเศร้าโศก

กัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์
 เป็นกัณฑ์ที่หกกษัตริย์นำพยุหโยธาเสด็จนิวัติพระนคร พระเวสสันดรขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดาพระเจ้ากรุงสญชัยตรัสสารภาพผิด พระเวสสันดรจึงทรงลาผนวชพร้อมทั้งพระนางมัทรี และเสด็จกลับสู่สีพีนคร เมื่อเสด็จถึงจึงรับสั่งให้ชาวเมืองปล่อยสัตว์ที่กักขัง ครั้นยามราตรีพระเวสสันดรทรงปริวิตกว่า รุ่งเช้าประชาชนจะแตกตื่นมารับบริจาคทาน พระองค์จะประทานสิ่งใดแก่ประชาชน ท้าวโกสีห์ได้ทราบจึงบันดาลให้มีฝนแก้ว 7 ประการ ตกลงมาในนครสีพีสูงถึงหน้าแข้ง พระเวสสันดรจึงทรงประกาศให้ประชาชนขนเอาไปตามปรารถนา ที่เหลือให้ขนเข้าพระคลังหลวง ในกาลต่อมาพระเวสสันดรเถลิงราชสมบัติปกครองนครสีพีโดยทศพิธราชธรรมบ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขตลอดพระชนมายุ

 การเทศน์มหาชาติ คือการมหากุศลที่เตือนบุคคลให้น้อมรำลึกถึงการบำเพ็ญบุญ คือความดีที่ยิ่งยวด อันมีการสละความเห็นแก่ตัว เพื่อผลประโยชน์สูงอันไพศาลของมวลมนุษยชาติเป็นสำคัญเป็นเทศกาลที่คงความหมายอย่างแท้จริง

ตัวอย่างการเทศน์มหาชาติกัณฑ์ชูชก



อ้างอิง wikipedia











วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ลิเกไทย

ลิเกไทยที่จะสูญหาย

ประวัติลิเกไทย
ลิเก เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์ คำว่า ลิเก เพี้ยนมาจากคำว่า ซิเกร์ ในภาษาเปอร์เซีย ที่ยืมมาจากคำว่า ซิกรุ (Zakhur) ในภาษาอาหรับ อันหมายถึงการอ่านบทสรรเสริญเป็นการรำลึกถึงอัลลอหฺพระเจ้าในศาสนาอิสลาม พระครูศรีมหาโพธิคณารักษ์ก็ได้กล่าวถึงลิเกไว้[1] ว่า พวกมุสลิมนิกายชีอะห์ หรือเจ้าเซ็นจากเปอร์เซีย นำสวดลิเกที่เรียกว่า ดิเกร์ เข้า มาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย[2] กรมพระยาดำรงราชานุภาพก็ทรง บันทึกว่า ยี่เกนั้น เพี้ยนมาจาก จิเก
ชนิดของลิเก
1.ลิเกบันตน
เริ่มด้วยร้องเพลงบันตน(เพี้ยนจาก ปันตน)เป็นภาษามลายู ต่อมาก็แทรกคำไทยเข้าไปบ้าง ดนตรีก็ใช้รำมะนา จากนั้นก็แสดงเป็นชุด ๆ ต่างภาษา เช่น แขก ลาว มอญ พม่า ต้องเริ่มด้วยชุดแขกเสมอ ผู้แสดงแต่งตัวเป็นชาติต่าง ๆ ร้องเอง พวกตีรำมะนาเป็นลูกคู่ มีการร้องเพลงบันตนแทรกระหว่างการแสดงแต่ละชุด
2.ลิเกลูกบท
การแสดงผสมกับการขับร้องและบรรเลงเพลงลูกบท ร้องและรำไปตามกระบวนเพลง ใช้ปี่พาทย์ประกอบแทนรำมะนา แต่งกายตามที่นิยมในสมัยนั้นๆ แต่สีฉูดฉาด ผู้แสดงเป็นชายล้วน เมื่อแสดงหมดแต่ละชุด ปี่พาทย์จะบรรเลงเพลง 3 ชั้นที่เป็นแม่บทขึ้นอีก และออกลูกหมดเป็นภาษาต่าง ๆ ชุดอื่น ๆ ต่อไปใหม่

3.ลิเกทรงเครื่อง


เป็นการผสมผสาน ระหว่างลิเกบันตนและลิเกลูกบท มีท่ารำเป็นแบบแผน แต่งตัวคล้ายละครรำ แสดงเป็นเรื่องยาวๆ อย่างละคร เริ่มด้วยโหมโรงและบรรเลงเพลงภาษาต่างๆ เรียกว่า "ออกภาษา" หรือ "ออกสิบสองภาษา" เพลงสุดท้ายเป็นเพลงแขก พอปี่พาทย์หยุด พวกตีรำมะนาก็ร้องเพลงบันตน แล้วแสดงชุดแขก เป็นการคำนับครู ใช้ปี่พาทย์รับ ต่อจากนั้นก็แสดงตามเนื้อเรื่อง ลิเกที่แสดงในปัจจุบันเป็นลิเกทรงเครื่อง

4.ลิเกป่า


เป็นศิลปะการแสดงที่เคยได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและ จังหวัดทางภาคใต้ทั่ว ๆ ไป แต่ในปัจจุบันลิเกป่ามีเหลืออยู่น้อยมาก ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า เดิมลิเกป่าจะมีแสดง ให้ดูทุกงาน ไม่ว่าจะเป็นบวชนาค งานวัด หรืองานศพ ลิเกป่ามีเครื่องดนตรีประกอบการแสดง 3 อย่าง คือ กลองรำมะนา 1-2 ใบ ฉิ่ง 1 คู่ กรับ 1 คู่ บางคณะอาจจะมีโหม่ง และทับด้วย ลิเกป่ามีนายโรงเช่นเดีวกับหนังตะลุง และมโนราห์ และโร สำหรับการแสดงก็คล้ายกับโรงมโนราห์ ผู้แสดงลิเกป่า คณะหนี่งมีประมาณ 6-8 คน ถ้ารวมลูกคู่ด้วยก็จะมีจำนวนคนพอ ๆ กับมโนราห์หนึ่งคณะ การแสดงจะเริ่มด้วยการโหมโรง "เกริ่นวง" ต่อจากเกริ่นวงแขกขาวกับแขกแดงจะออกมาเต้นและร้องประกอบ โดยลูกคู่จะรับไปด้วย หลังจากนั้นจะมีผู้ออกมาบอกเรื่อง แล้วก็จะเริ่มแสดงเลย

ส่วนประกอบในการแสดง
วิธีแสดง เดินเรื่องรวดเร็ว ตลกขบขัน การแสดงเริ่มด้วยโหมโรง 3 ลา จบแล้วบรรเลงเพลงสาธุการ ให้ผู้แสดงไหว้ครู แล้วจึงออกแขก บอกเรื่องที่จะแสดง ในอดีตมีการรำถวายมือหรือรำเบิกโรง แล้วจึงดำเนินเรื่อง ต่อมาการรำถวายมือก็เลิกไป ออกแขกแล้วก็จับเรื่องทันที การร่ายรำน้อยลงไปจนเกือบไม่เหลือเลย คงมีเพียงบางคณะที่ยังยึดศิลปะการรำอยู่
ผู้แสดง เดิมใช้ผู้ชายล้วน ต่อมานายดอกดิน เสือสง่า ให้บุตรสาวชื่อละออง แสดงเป็นตัวนางประจำคณะ ต่อมาคณะอื่นก็เอาอย่างบ้าง บางคณะให้ผู้หญิงเป็นพระเอก เช่น คณะกำนันหนู บ้านผักไห่ อยุธยา การแสดงชายจริงหญิงแท้นั้น คณะ หอมหวล นาคศิริ เริ่มเป็นคณะแรก ผู้แสดงต้องมีปฏิภาณในการร้องและเจรจา ดำเนินเรื่องโดยไม่มีการบอกบทเลย หัวหน้าคณะจะเล่าให้ฟังก่อนเท่านั้น นอกจากนี้ การเจรจาต้องดัดเสียงให้ผิดปกติ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ของลิเก แต่ตัวสามัญชนและตัวตลกพูดเสียงธรรมดา ในยุคหลังจากนั้นก็ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยโดยการเกิดรายการลิเกทางโทรทัศน์ขึ้นมาเช่น ลิเกรวมดาวของ คุณ วิญูญู จันทร์เจ้า โดยมี สมศักดิ์ ภักดี เป็นพระเอกลิเกคนแรกของประเทศไทยที่ได้ออกโทรทัศน์ และต่อมาก็เริ่มมีคณะลิเกรุ่นใหม่ๆรวมถึงลิเกเด็กเกิดขี้นมาตามลำดับเช่น คณะลิเกไชยา มิตรไชย คณะลิเกกุ้ง สุทธิราช คณะลิเกเด็กวัดสวนแก้ว คณะลิเก ศรราม-น้ำเพชร 

การแต่งกาย แต่งตัวด้วยเครื่องประดับสวยงาม เลียนแบบเครื่องทรงกษัตริย์ จึงเรียกว่าลิเกทรงเครื่อง บางครั้งก็ลดเครื่องแต่งกายที่แพรวพราวลงไป โดยตัวนายโรงยังแต่งเลียนแบบเครื่องทรงของกษัตริย์ในส่วนที่มิใช่เครื่องต้น เช่น นุ่งผ้ายกทอง สวมเสื้อเข้มขาบหรือเยียรบับ แขนใหญ่ถึงข้อมือ คาดเข็มขัดนอกเสื้อ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ แต่ดัดแปลงเสียใหม่ เช่น เครื่องสวมศีรษะ เครื่องประดับหน้าอก สายสะพาย เครื่องประดับไหล่ ตัวนางนุ่งจีบยกทอง สวมเสื้อแขนกระบอกยาว ห่มสไบปักแพรวพราว สวมกระบังหน้าต่อยอดมงกุฎ ที่แปลกกว่าการแสดงอื่น ๆ คือสวมถุงเท้ายาวสีขาวแทนการผัดฝุ่นอย่างละคร แต่ไม่สวมรองเท้า
พวกเราคนไทยทุกคนควนที่จะออกมาร่วมกันที่จะอนุรักษ์ลิเกของไทย ไม่ให้สูญหายออกไปจากแผ่นดินไทยเพราะการแสดงลิเกเป็นการแสดงที่สวยงาม เป็นสิ่งเชิดชู้ความเป็นเอกลักษณ์ความเป็นไทยของเราประชาชนชาวไทย
ตัวอย่างการแสดงลิก
อ้างอิง wikipedia

การทำขวัญนาค

การทําขวัญนาค




การประกอบพิธีทำขวัญนาคส่วนใหญ่จะเป็นการสอนนาคถึงบุญคุณบิดามารดาการเตรียมตัวเป็นสาวกที่ดีของพระศาสนา การประกอบพิธีทำขวัญนาค มีความเชื่อตั้งแต่ครั้งโบราณถึงสาเหตุที่ต้องจัดพิธีทำขวัญนาคขึ้น เพราะญาติของพ่อนาคที่เดินทางมาจากที่ต่างๆ ไม่สามารถกลับได้จึงต้องอยู่ในงานทั้งคืน ถ้าหากไม่มีพิธีทำขวัญนาคขึ้น มันเงียบเหงา เลยกล่อมทั้งพ่อนาคและญาติของพ่อนาคไปด้วย ในปัจจุบันนี้ยังมีการสืบทอดประเพณีการทำขวัญนาคอยู่ แต่มีสิ่งเปลี่ยนแปลงไปบ้างคือใช้เวลาในการประกอบพิธีสั้นลง มีการกล่อมเป็นเพลงลูกทุ่งบ้างเพื่อสนุกสนานแก่ผู้ร่วมประกอบพิธี
ถ้าพิจารณาอีกทางหนึ่ง ประเพณีทำขวัญนาค ก็คือ พิธีให้ความสำคัญแก่ผู้เป็นแม่ เพราะวันพรุ่งนี้เมื่อนาคเข้าโบสถ์แล้วแม่จะหมดหน้าที่ ความสำคัญจะโอนไปอยู่ที่พ่อซึ่งเป็นผู้ชาย

สิ่งของที่ต้องใช้ประกอบในพิธีทำขวัญนาค ได้แก่           
1. บายศรี 5-7 ชั้น  ไม้ไผ่ผ่า 3 ซีก สำหรับขนาบบายศรี           
2. ใบตอง (ตัดทั้งก้าน)  3 ก้าน  สำหรับหุ้มบายศรี          
3. ผ้าแพร หรือผ้าสี หุ้มบายศรี  1 ผืน         
4. เทียนเวียน  9 เล่ม เทียนทำพิธี 2-3  เล่ม           
5. ขันน้ำมนต์ 1 ขัน  ขันใส่ข้าวสาร 1 ขัน ใบพลู  7 ใบ             
6. เครื่องกระยาบวช (ขนมต้มแดง ต้มขาว ข้าวปากหม้อ             
   ไข่ต้ม)ใสถ้วยที่มีบายศรีปากชาม  1 สำรับ         
7. มะพร้าวอ่อน  1 ผล   แป้งหอม น้ำหอมเจิมหน้านาค         
8. พานกำนล ประกอบด้วย พานดอกไม้ หมาก 5 คำ ยาสูบ (บุหรี่)   
    เหล้าขาว 1 ขวด เงิน 12 บาท
9. ธูป 3 ดอก หรือ 5-7 ดอกก็ได้

ขั้นตอนการทำขวัญนาค มีดังนี้
1 การขัดสักเค หรือ ชุมนุมเทวดา คือการที่หมอขวัญจะสวดเชิญเทวดาลงมาเพื่อให้มาร่วมอำนวยอวยชัยในการทำขวัญนี้ และยังให้ท่านลงมาช่วยให้พรและเป็นสักขีพยานในการบวช
2.การกล่าวถึงการปฎิสนธิหรือการเกิด ก็คือการกล่าวกำเนิดของพ่อนาคว่าก่อนจะเกิดลงมาเป็นมนุษย์ได้นั้นมันต้องเป็นอะไรมาก่อนมีประวัติความเป็นมาอย่างไร กว่าที่จะได้มาเกิดในครรค์ของพระมารดา
3.การแพ้ท้องของแม่จนถึงการคลอดลูก ตอนนี้หมอขวัญจะกล่าวถึงตอนที่แม่อุ้มท้องเรามาตั้งแต่เดือนที่หนึ่งจนถึงเดือนที่เก้าว่าแม่มีอาการอะไรบ้าง อยากกินอารัยบ้าง ลำบากแค่ไหนในการอุ้มทองลูกชายคนนี้ทรมานแค่ไหนก่อนที่จะคลอดลูก
4.พิธีการเชิญขวัญนาค คือการที่หมอทำขวัญจะทำพิธีเรียกขวัญนาคที่เคยไปอยู่ยังที่ต่างๆให้กลับมาสู่ตัวพ่อนาคที่จะบวชเป็นพระภิษุสงฆ์
5.เบิกบายศรีและทำพิธีเวียนเทียน เมื่อเสร็จพิธีการทำขวัญนาคหมอทำขวัญก็จะทำพิธีเบิกบายศีและเวียนเทียนเพื่อเป็นศิริมงคลให้แก่พ่อนาค และผู้ที่มาร่วมงานเป็นอันเสร็จพิธี การทำขวัญนาค

อ้างอิง gotoknow





วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สัตว์หิมพานต์


สัตว์ในป่าหิมพานต์

สัตว์หิมพานต์ คือสัตว์ในจินตนาการที่กวี หรือจิตรกร พรรณนาถึง อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์หรือเขาไกรลาส ดังที่ปรากฏในวรรณคดีไตรภูมิพระร่วง และรามเกียรติ์ โดยมีลักษณะของสัตว์หลายชนิดมาประกอบกันในตัวเดียว จำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ สัตว์ทวิบาท (มีสองขา) สัตว์จตุบาท (มีสี่ขา) และจำพวกปลา

เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างลักษณหัวเป็นลิง มีปีกมีหางเหมือนนก มีรูปร่างที่สวยงาม เป็นสัตว์ที่สำคัญในวรรณคดีไทย
สัตว์หิมพานต์ คือสัตว์ในจินตนาการที่กวี หรือจิตรกร พรรณนาถึง อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์หรือเขาไกรลาส ดังที่ปรากฏในวรรณคดีไตรภูมิพระร่วง และรามเกียรติ์ โดยมีลักษณะของสัตว์หลายชนิดมาประกอบกันในตัวเดียว จำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ สัตว์ทวิบาท (มีสองขา) สัตว์จตุบาท (มีสี่ขา) และจำพวกปลา

วารีกุญชร เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ มีรูปร่างเป็นช้างแต่มีเท้าเพียง 2 เท้าหน้า ลำตัวและหางเป็นปลาทั้งหมด หรือมีเท้าครบทั้ง 4 เท้า แต่มีหางเป็นปลา(วารีกุญชรที่มี 4 เท้า บางแห่งเรียกกุญชรวารี) อาศัยอยู่ในทะเลสีทันดร สามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้ดี 

สัตว์หิมพานต์ คือสัตว์ในจินตนาการที่กวี หรือจิตรกร พรรณนาถึง อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์หรือเขาไกรลาส ดังที่ปรากฏในวรรณคดีไตรภูมิพระร่วง และรามเกียรติ์ โดยมีลักษณะของสัตว์หลายชนิดมาประกอบกันในตัวเดียว จำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ สัตว์ทวิบาท (มีสองขา) สัตว์จตุบาท (มีสี่ขา) และจำพวกปลา
ไกรสรปักษาเป็นสัตว์ผสมระหว่างสิงห์กับนก. ตามรูปโบราณ ไกรสรปักษามีกายสีเขียวอ่อน หัวเป็นเหมือนพญาอินทรี ตัวเป็นดั่งราชสีห์แต่มีเกล็ดคลุม นอกจากนั้นยังมีปีกเหมือนนกอีกด้วย 

ไกรสรจำแลงมีหัวแบบมังกร และมีร่างเป็นราชสีห์ (สิงโต) จิตรกรบางท่านเรียกไกรสรจำแลงว่า "ไกรสรมังกร" ซึ่งมีความหมาย ตรงตัวว่ามังกรสิงห์ 


สัตว์หิมพานต์ คือสัตว์ในจินตนาการที่กวี หรือจิตรกร พรรณนาถึง อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์หรือเขาไกรลาส ดังที่ปรากฏในวรรณคดีไตรภูมิพระร่วง และรามเกียรติ์ โดยมีลักษณะของสัตว์หลายชนิดมาประกอบกันในตัวเดียว จำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ สัตว์ทวิบาท (มีสองขา) สัตว์จตุบาท (มีสี่ขา) และจำพวกปลา
สัตว์หิมพานต์ คือสัตว์ในจินตนาการที่กวี หรือจิตรกร พรรณนาถึง อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์หรือเขาไกรลาส ดังที่ปรากฏในวรรณคดีไตรภูมิพระร่วง และรามเกียรติ์ โดยมีลักษณะของสัตว์หลายชนิดมาประกอบกันในตัวเดียว จำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ สัตว์ทวิบาท (มีสองขา) สัตว์จตุบาท (มีสี่ขา) และจำพวกปลา

สัตว์หิมพานต์ คือสัตว์ในจินตนาการที่กวี หรือจิตรกร พรรณนาถึง อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์หรือเขาไกรลาส ดังที่ปรากฏในวรรณคดีไตรภูมิพระร่วง และรามเกียรติ์ โดยมีลักษณะของสัตว์หลายชนิดมาประกอบกันในตัวเดียว จำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ สัตว์ทวิบาท (มีสองขา) สัตว์จตุบาท (มีสี่ขา) และจำพวกปลา
สัตว์หิมพานต์ คือสัตว์ในจินตนาการที่กวี หรือจิตรกร พรรณนาถึง อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์หรือเขาไกรลาส ดังที่ปรากฏในวรรณคดีไตรภูมิพระร่วง และรามเกียรติ์ โดยมีลักษณะของสัตว์หลายชนิดมาประกอบกันในตัวเดียว จำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ สัตว์ทวิบาท (มีสองขา) สัตว์จตุบาท (มีสี่ขา) และจำพวกปลา

อ้างอิง.gotoknow